สิ่งมีชีวิตคืออะไร?


สิ่งมีชีวิต คืออะไร
สิ่งมีชีวิต คือ สิ่งที่เคลื่อนไหวได้ หายใจได้ สืบพันธุ์ได้ เจริญเติบโตได้ ฯลฯ 
สิ่งต่างๆ ที่พบเห็นอยู่ทั่วไป ทุกคนสามารถแยกได้ว่า สิ่งใดเป็นสิ่งมีชีวิต ซากของสิ่งมีชีวิต หรือสิ่งไม่มีชีวิต แต่อาจมีสิ่งมีชีวิตบางชนิดที่หลายคนอาจบอกไม่ได้ว่าเป็นสิ่งมีชีวิตหรือไม่ เช่น ฟองน้ำ ปะการัง ไดอะตอม ดาวมงกุฎหนาม  เป็นต้น จึงเป็นสิ่งที่น่าสงสัยว่า นักชีววิทยาใช้เกณฑ์อะไรในการจำแนกสิ่งที่พบเห็นว่าเป็นสิ่งมีชีวิต
เกณฑ์ที่นักชีววิทยาใช้ในการจำแนกสิ่งที่พบเห็นว่าเป็นสิ่งมีชีวิตคือ

1. สิ่งมีชีวิตมีการสืบพันธุ์ 


       ปลาหางนกยูง จากการเริ่มต้นเลี้ยงปลาเพียง 4-5 คู่หลังจากนั้นประมาณ 1 เดือนจะมีลูกปลาหางนกยูงเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากลูกปลาเหล่านี้ย่อมเกิดมาจากการผสมของอสุจิจากพ่อปลาและไข่จากแม่ปลาเกิดกระบวนการปฏิสนธิกลายเป็นไซโกต ซึ่งจะเจริญเป็นเอ็มบริโอและตัวเต็มวัยที่มีรูปร่างลักษณะคล้ายคลึงกับพ่อแม่
    จะเห็นได้ว่าการสืบพันธุ์  เป็นลักษณะสําคัญของสิ่งมีชีวิตการสืบพันธุ์เป็นกระบวนการเพิ่มจำนวนของสปีชีส์เดียวกันเพื่อดำรงรักษาเผาพันธุ์ไว้ในการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง


2.สิ่งมีชีวิตต้องการสารอาหารและพลังงาน 


   สัตว์ได้พลังงานโดยการกินสัตว์หรือพืชอื่นเป็นอาหาร เช่น คางคกกินแมลงส่วนพืชต้องการน้ำ แสง และ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ มนุษย์ก็ต้องการอาหารทุกวัน ถ้าคนและสัตว์อดอาหารนานๆก็จะตายในที่สุดสิ่งมีชีวิตจะไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ถ้าปราศจากอาหารและพลังงาน ในอาหาร มีสารอาหารช่วยเสริมสร้างให้ร่างกายเจริญเติบโต ซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่ชำรุดสารอาหารเหล่านี้บางชนิดสลายแล้วให้พลังงานเพื่อใช้ในการทำกิจกรรมต่างๆของร่างกาย เช่นการเคลื่อนไหวของร่างกาย รวมทั้งปฏิกิริยาเคมีภายในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตที่ เรียกว่า เมแทบอลิซึม (metabolism) ก็ต้องใช้พลังงานจากสารอาหาร

 3.สิ่งมีชีวิตมีการเจริญเติบโตมีอายุขัยและขนาดจำกัด


              เซลล์ไข่ของคนมีขนาด 100 ไมโครเมตร ซึ่งมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า เมื่อเกิดการปฏิสนธิแล้วจะเดินเป็น
ไซโกตและเอ็มบริโอจนกระทั่งพัฒนาและคลอดออกมาเป็นทารก มีขนาดความยาว 50-65 เซนติเมตรและมีน้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 2800-3800 กรัมเมื่อมีการเจริญเติบโตจนถึงวัยผู้ใหญ่บางคนอาจมีด้านการสูงถึง
160-180 เซนติเมตรและมีน้ำหนักตัวมากถึง 50 กิโลกรัม แสดงว่าสิ่งมีชีวิตมีการเจริญเติบโต
   การเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตเซลล์มีการเพิ่มจำนวน  มีการเพิ่มขนาด มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อทำหน้าที่เฉพาะอย่างและมีการรวมกลุ่มของเซลล์เพื่อพัฒนาเป็นเนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆ
   สิ่งมีชีวิตบางชนิดขนาดเจริญเติบโตไม่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง เป็นสิ่งมีชีวิตบางชนิดขณะเจริญเติบโตมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างและโครงสร้างของร่างกายแตกต่างไปจากเดิมอย่างเห็นได้ชัดเจนเช่น ผีเสื้อยุง กบ

4. สิ่งมีชีวิตมีการตอบสนองต่อสิ่งเร้า 


กิ้งกือเมื่อโดนสัมผัสจะหดตัว
   สิ่งมีชีวิตมีการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม  เพื่อหาอาหาร หลบหลีกภัยจากศัตรู  และมีการปรับตัวให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมเช่น อากาศที่หนาวจัดร้อนจัดเกินไป  ทั้งนี้เพื่อความอยู่รอด  สภาพของสิ่งแวดล้อมที่ทำให้สิ่งมีชีวิตแสดงพฤติกรรม เรียกว่า สิ่งเร้า (stimulus) สิ่งเร้าของสิ่งมีชีวิตมีทั้งสิ่งเร้าภายในและภายนอกร่างกายของสิ่งมีชีวิตและการแสดงออกของสิ่งมีชีวิตต่อสิ่งเร้า เรียกว่าการตอบสนอง(response) เช่น ทานตะวันจะหันดอกเข้าหาแสงอาทิตย์,ดอกบัวบางชนิดจะบานในตอนเช้าและจะหุบในตอนเย็น, กิ้งกือเมื่อโดนสัมผัสจะหดตัว

5.สิ่งมีชีวิตมีการรักษาดุลยภาพของร่างกาย 


   พบว่าโครงสร้างภายในเซลล์ที่ เรียกว่า คอนแทร็กไทล์แวคิวโอล (contractilevacuole) มีการเปลี่ยนแปลงทั้งขนาดและรูปร่าง 
   คอนแทร็กไทล์แวคิวโอลจะเปลี่ยนแปลงขนาดและรูปร่างเนื่องจากสารละลายในสภาพแวดล้อมภายนอกเซลล์มีความเข้มข้นน้อยกว่าสารละลายภายในเซลล์จึงเกิดการออสโมซิสของน้ำจาภายนอกเข้าสู่ภายในเซลล์ตลอดเวลาและถ้าน้ำเข้าไปในเซลล์มากขึ้นเซลล์จะขยายขนาดจนอาจทำให้เซลล์แตก พารามีเซียมจึงต้องมีกลไกเพื่อรักษาสมดุลของน้ำและสารละลายระหว่างสภาพแวดล้อมภายนอกเซลล์และภายในเซลล์โดยมีการลำเลียงของเหลวเข้าสู่คอนแทร็กไทล์แวคิวโอล ทำให้คอนแทร็กไทล์แวคิวโอลมีขนาดใหญ่ขยายขนาดเต็มที่และบีบตัวให้ของเหลวส่วนเกินนี้ออกนอกเซลล์

6. สิ่งมีชีวิตมีลักษณะจำเพาะ


 ทุกคนสามารถระบุชื่อของสิ่งมีชีวิตได้ถูกต้อง เพราะสิ่งมีชีวิตจะมีลักษณะจำเพาะ อาจสังเกตได้จากลักษณะภายนอก เช่น รูปร่าง ขนาด ความสูง สีผิว ลักษณะเส้นขน จำนวนขา ลักษณะพื้นผิวที่เรียบ หรือขรุขระ การดมกลิ่น หรือแม้แต่เสียงร้องของสัตว์ ถ้ามีความชำนาญก็สามารถบอกได้ว่าเป็นสัตว์ชนิดใด แสดงว่าสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดก็จะมีลักษณะจำเพาะเป็นเอกลักษณ์ตามลักษณะของสิ่งมีชีวิต ซึ่งแตกต่างจากสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น 

7. สิ่งมีชีวิตมีการจัดระบบ


  สิ่งมีชีวิตประกอบด้วยเซลล์เดียวก็จะมีการจัดระบบ (organization) หน้าที่ในการทำงานของโครงสร้างต่างๆ ภายในเซลล์ เช่น คลอโรพลาสต์ทำหน้าที่สร้างอาหารให้แก่เซลล์ไมโทคอนเดรียเป็นแหล่งให้พลังงาน แวคิวโอลควบคุมสมดุลของน้ำหรือเป็นที่เก็บผลึกของสาร นิวเคลียสทำหน้าที่ควบคุมการทำกิจกรรมต่างๆ ของเซลล์ เป็นต้น สิ่งมีชีวิตที่มีหลายเซลล์ก็มีการจัดระบบภายในร่างกายและมีการทำงานร่วมกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผลงาน

ผลงานบทเรียนออนไลน์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ห้อง 1 เรื่อง อะตอมและตารางธาตุพื้นฐาน เร...