ชีววิทยากับการดำรงชีวิต


ชีววิทยากับการดำรงชีวิต                  
ในการดำรงชีวิตของมนุษย์  เช่น การดูแลสุขภาพของร่างกายการป้องกันรักษาโรค การผลิตอาหาร  การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การประกอบอาชีพ การเรียนรู้เกี่ยวกับร่างกายของคน การรู้จักพฤติกรรมของสัตว์ต่างๆล้วนมีความเกี่ยวข้องกับชีววิทยาทั้งสิ้นนักวิชาการซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญแต่ละสาขาได้ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตจึงทำให้ได้พันธุ์ของสิ่งมีชีวิตหรือผลผลิตตามความต้องการ เช่น พันธุ์พืชที่ต้านทานโรคและแมลงผลไม้ที่มีรสชาติอร่อย  ผลที่มีขนาดใหญ่ สัตว์ที่เจริญเติบโตเร็วให้ผลิตภัณฑ์ในปริมาณมาก เช่น นมหรือไข่ ทำให้มนุษย์มีอาหารอย่างพอเพียงหรือเป็นสินค้าทำรายได้เป็นอย่างดีถ้าได้ติดตามการทำงานตามโครงการพระราชดำริโครงการส่วนพระองค์หรือโครงการหลวงทำให้ทราบว่ามีการขยายพันธุ์พืชที่ควรอนุรักษ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เช่น ขนุนไพศาลทักษิณและการปรับปรุงพันธุ์ เมล็ดถั่วแดงหลวงจากเมล็ดที่มีขนาดเล็กให้ได้เมล็ดที่มีขนาดใหญ่ขึ้น

                                 ไพศาลทักษิน ขนุนพระราชทาน   
นักวิชาการทางด้านการเกษตรพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพต่างๆมาใช้ให้เกิดประโยชน์อีก เช่น การถ่ายฝากตัวอ่อนของสัตว์การผลิตปุ๋ยชีวภาพ การผสมเทียมปลาฯลฯ การศึกษาวัฏจักรชีวิตและโครงสร้าง  รูปร่างลักษณะและพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตช่วยให้สามารถเข้าใจการปรับตัวจากสิ่งมีชีวิตนำไปสู่การศึกษาวิจัยตัวยาที่นำใช้รักษาโรคและวิธีป้องกันโรคเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ทางการแพทย์ส่วนใหญ่ได้มาจากความรู้ทางชีววิทยา การศึกษาในปัจจุบันก้าวหน้าจนสามารถตัดต่อยืนจากสิ่งมีชีวิตในกระบวนการพันธุวิศวกรรม (genetic engineering) ซึ่งนำมาใช้ทางการแพทย์ เช่น สามารถใช้ยีสต์ผลิตฮอร์โมนอินซูลินเพื่อรักษาโรคเบาหวานสามารถใช้สุกรสร้างโกรทฮอร์โมน (GH : Growth hormone) เพื่อรักษาเด็กที่มีความสูงหรือต่ำกว่าปกติและใช้ยีนบำบัด (gene therapy) ในการรักษาโรคทางพันธุกรรมบางชนิด เป็นต้น
ความรู้จักการศึกษาคุณลักษณะของพืชชนิดต่าง ๆ โดยแพทย์แผนโบราณสามารถนำมาปรุงยาสมุนไพรใช้รักษาโรค นับเป็นภูมิปัญญาไทยที่น่าภาคภูมิใจและปัจจุบันได้มีการศึกษาวิจัยผลิตภัณฑ์เหล่านี้ให้ได้มาตรฐานสากล



 ผลิตภัณฑ์สมุนไพรจากโครงการ พ่อ

        การเรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับร่างกายของเรา ทำให้เข้าใจการทำงานของอวัยวะต่างๆและเข้าใจวิธีการดูแลรักษาสุขภาพของตนและผู้ใกล้ชิด ความรู้ทางชีววิทยาอาจนำมาใช้ในการขยายพันธุ์สัตว์เศรษฐกิจและอนุรักษาสัตว์ที่หายาก เช่น การโคลน (cloning) สัตว์ชนิดต่าง ๆ


   
 สัตว์ที่เกิดจากการโคลน
แกะดอลลี่ (ตัวที่อยู่ด้านหน้า) กับแกะต้นแบบ
       
     ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ทำให้เราตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมที่มีต่อมวลมนุษยชาติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลเดชฯทรงค้นพบว่าหญ้าแฝกเป็นพืชที่มีรากยาวมาก แข็งแรงและหนาแน่นสามารถปลูกเพื่อช่วยป้องกันการกัดเซาะและการพังทลายของดินได้ดีจึงทรงแนะนำให้เผยแพร่แก่ประชาชนทั่วไป



หญ้าแฝกเป็นพืชที่มีรากยาวหนาแน่นและการปลูกหญ้าแฝก
เพื่อประโยชน์ด้วยอนุรักษ์ดินและน้ำรวมทั้งสภาพแวดล้อม


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผลงาน

ผลงานบทเรียนออนไลน์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ห้อง 1 เรื่อง อะตอมและตารางธาตุพื้นฐาน เร...